top of page

The Mascot Blueprint


The Mascot Blueprint


ถอดรหัสการสร้าง ‘ไอคอน’ เป้าปลาย ตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จ


ใครๆ ก็ “มี” แบรนด์ได้ แต่การ “สร้าง” แบรนด์ให้ “สำเร็จ” เป็นที่ “รับรู้” และ “จดจำ” ของคน

โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายเป็นเรื่องที่ต้องใช้ “กลยุทธ์การตลาด” มาช่วย!!!

หนึ่งในเครื่องมือที่ประสบความสำเร็จแบบเห็นเป็นรูปธรรม สร้างกระแสการรับรู้ได้ในช่วงปีที่ผ่านมาคือ การตลาดแบบใช้ตัวแทนที่เรียกว่า มาสคอต หรือ Mascot Marketingโดยมีการนำตัวคาแรกเตอร์ที่ออกแบบผ่านอัตลักษณ์ของแบรนด์มาสื่อสารโดยยึดแกนสำคัญคือบุคลิกและเรื่องราวของแบรนด์ในรูปแบบที่เรียกว่า “Mascot Branding”

โดยมาสคอตนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อ 3 วัตถุประสงค์สำคัญ ดังนี้


หนึ่ง ช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ คนเห็นเมื่อไหร่ก็รู้ว่าแบรนด์ไหน เช่น เห็นตัวก็อตจิ ก็จะจำได้ ว่านี่จากปั๊ม ปตท. ลองคิดตามเล่นๆ ว่า ตัวมาสคอตแบบไหนที่เห็นแล้วจะคิดถึงแบรนด์เรา

สอง ช่วยสร้างความผูกพัน ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ เนื่องด้วยการออกแบบที่เน้นการสร้างบุคลิก
จำลองจาก คน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ที่เน้นความเป็นการ์ตูน เมื่อใสรอยยิ้ม หรือหน้าตาที่น่ารักเข้าไปด้วยแล้วเพื่อให้มีความเป็นมิตร ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเองและเข้าถึงได้ง่าย

สาม ช่วยการสื่อสาร ไม่ว่าจะผ่านช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์ มาสคอตตัวนี้ออกมาเมื่อไหร่จะต้องได้
รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายมากกว่าการสื่อสารด้วยข้อความ หรือเรื่องราวบอกเล่าธรรมดา อย่างกรณีของน้องหมีเนย ออกมาเต้น ออกมาทักทายคนในร้าน Butterbear ก็สามารถเอ็นเตอร์เทนคนได้ จนกลายเป็นไวรัลเมื่อคนตัดคริปออกไปแพร่แพร่ในช่องทางออนไลน์ ต่อยอดไปถึงการมีเพลงเป็นของตัวเอง และอื่นๆ อีกมากมายที่สร้าง engagement ให้กับแบรนด์ เป็นต้น

หากแบรนด์เราต้องการใช้ Mascot Marketing อยากมีมาสคอต “ตัวตึง” มาเล่าเรื่องแบรนด์ได้จนเป็นที่รู้จัก เราต้องเตรียมอะไรบ้าง เพื่อเข้าสู่ “Mascot Branding” วันนี้ทีม BalloonART มี Mascot Blueprint มาเล่าให้ฟัง.............

เริ่มต้นสร้างมาสคอตต้องทำยังไง?

การจะได้มาสคอตตัวนึงที่มาเป็นตัวแทนของแบรนด์ เล่าเรื่องราวต่างๆ ประหนึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ได้นั้นจะต้องผ่านการออกแบบและการนำไปใช้เบื้องต้น ดังต่อไปนี้

1. ขั้นตอนการออกแบบ

กำหนดบุคลิกของแบรนด์ (Brand Personality) หากแบรนด์เป็นคน จะมีลักษณะนิสัยอย่างไร กำหนดลักษณะมา 3-5 คำเพื่ออธิบายบุคลิกภาพ อาทิ น่ารัก สดใส ขี้เล่น เป็นกันเอง หรืออบอุ่น ใจดีเป็นต้น

เลือกประเภทและดีไซน์ที่ตรงกับบุคลิกแบรนด์

มาสคอตมี 3 ประเภทหลัก คือ คน สัตว์ และสิ่งของ แบรนด์เราอยากได้มาสคอตแบบไหน ถ้าเป็น สัตว์ จะเป็นสัตว์ประเภทไหนที่มีนิสัยและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับบุคลิกของแบรนด์ในข้อ 1 และ เชื่อมโยงกับ CI ของแบรนด์ ในเรื่องของสี รูปร่าง และองค์ประกอบต่างๆ

เลือกวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งาน

พิจารณารูปแบบการนำไปใช้งานว่าใช้คนใส่ข้างใน หรือนำไปติดตั้ง งานในร่ม หรือกลางแจ้ง และดู
เรื่องการขนส่งเคลื่อนย้ายให้มีความสะดวก รวมถึงการดูแลรักษาหลังการใช้งาน เพราะวัสดุแต่ละชนิด
มีน้ำหนัก และการดูแลที่แตกต่างกัน อาทิ ผ้าขน ผ้าสักหลาด ผ้าตาข่าย หรือขึ้นรูปแบบไฟเบอร์กลาส
เป็นต้น

ขึ้นแบบโมเดลจำลองแบบ 3 มิติ

เพื่อให้เห็นสัดส่วนและองค์ประกอบทั้งหมดก่อนผลิตจริง จะช่วยให้งานออกมาตรงโจทย์ตรงใจมาก
ที่สุด

2. ขั้นตอนการผลิต

เริ่มต้นจากการจัดหาวัสดุ ตามที่ระบุไว้ตามแบบ จากนั้นเข้าสู่การการตัดเย็บตาแพทเทิร์นที่วางไว้

และขึ้นรูป เป็นโครงร่าง โดยทั่วไปจะขึ้นรูปด้วยโฟม เพราะมีน้ำหนักเบา ขึ้นรูปง่าย และเป็นฐานที่ดีสำหรับ
การหุ้มด้วยผ้าภายนอกจากนั้นก็นำเอาชิ้นส่วนแพทเทิร์นต่างๆที่ได้มาประกอบเข้ากับโครง แล้วเย็บหุ้มเป็นชิ้นเดียวกัน ตกแต่งตามรายละเอียดที่ออกแบบไว้ และตรวจสอบคุณภาพงานก่อนที่จะส่งมอบให้กับลูกค้า

หลังการผลิต ก็เป็นส่วนของการสร้างเรื่องราวให้กับมาสคอต เป็น Storytelling ที่สร้างประสบการณ์ร่วมให้กับลูกค้า เล่าเรื่องที่มา เรื่องราวแรงบันดาลใจต่างๆ และสร้างกิจกรรมสำหรับให้มาสคอตได้ออกไปสื่อสารในช่องทางทางต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

มาสคอตไม่ใช่แค่เรื่องของความน่ารัก แต่เป็นกลยุทธ์ที่ทรงพลังในการสร้างแบรนด์ หากต้องการให้แบรนด์เป็นที่รักและจดจำผ่าน Mascot Marketing ให้ BalloonART เป็นคำตอบสำหรับการสร้างสรรค์มาสคอตคุณภาพ



อยากให้แบรนด์คุณมี "ตัวแทน" ที่ทุกคนจดจำได้? อย่ารอช้าส่งแบบมาเลยที่ LINE: @balloonart




Comments


bottom of page