ฮีเลียม vs ไฮโดรเจน
- balloonartthai
- 17 มี.ค.
- ยาว 1 นาที
ฮีเลียม vs ไฮโดรเจน
ลูกโป่งลอยได้ แต่ความปลอดภัยต้องมาก่อน
ภาพข่าว “สาวชาวเวียดนามถือลูกโป่งขนาดใหญ่มือขวา และถือเค้กวันเกิดมือซ้าย จังหวะที่ลูกโป่งลอยลงมาใกล้กับเปลวเทียนวันเกิด วินาทีนั้น ลูกโป่งก็ระเบิดเกิดประกายไฟลุกไหม้ลวกไปทั่วบริเวณใบหน้าของหญิงสาว” ข่าวนี้สร้างความตระหนกให้กับผู้คน ลูกโป่งแสนสวยมาพร้อมกับอันตรายได้อย่างไร?
นี่คือตัวอย่างที่ตอบได้ชัดเลยว่า “ผู้ผลิต “มักง่าย” ใช้ก๊าซผิดประเภทมาบรรจุในลูกโป่ง” จนสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้า
ที่เห็นว่าติดไฟง่ายและเป็นอันตราย นั่นเป็นเพราะใช้ “ก๊าซไฮโดรเจน”ซึ่งเป็นก๊าซไวไฟ เมื่อเกิดประกายไฟจากการเสียดสีของโลหะ หรืออยู่ใกล้ไฟ ทำให้ก๊าซไฮโดรเจนติดไฟและเกิดระเบิดขึ้นทันที
แล้ว “ก๊าซแบบไหนที่ปลอดภัยหายห่วง?”
ในวงการลูกโป่งที่ได้มาตรฐาน ระบุสเป็กไว้ชัดเจนว่าต้องเป็น “ก๊าซฮีเลี่ยม (Helium)” เท่านั้น จึงจะเป็นก๊าซที่ปลอดภัย ไม่ติดไฟ ไม่ใช่เฉพาะในอุตสาหกรรมลูกโป่งเท่านั้น หากแต่ “ก๊าซฮีเลียม” ยังถูกนำไปใช้ในวงการอื่นๆ อาทิ อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ อย่าง NASA ใช้ฮีเลียมในการทำความเย็นให้กับเชื้อเพลิงจรวด โรงพยาบาลใช้ฮีเลียมในเครื่องสแกน MRI ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และการผลิตชิปอิเล็กทรอนิกส์ก็ใช้ก๊าซฮีเลี่ยม รวมไปถึงการดำน้ำและสำรวจท้องทะเลลึกอีกด้วย

コメント